เยาวชนไทยห่างไกลบุหรี่ สุรา และสารเสพติด
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่ติดสารเสพติด ให้มีโอกาสในการเลิก และออกจากสารเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. รณรงค์ให้เยาวชนทราบถึงโทษภัยที่ได้รับจากการสูบบุหรี่ สุรา และเสพสารเสพติด
3. เพื่อคืนเยาวชนที่ดีกลับสู่สังคม และกลายมาเป็นพลังที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคต
เยาวชนที่ต้องการเข้ารับการบำบัดต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นเยาวชนอายุไม่เกิน ๑๘ ปีโดยมีผู้ปกครองเป็นผู้รับรองการเข้าร่วมโครงการ
2. เป็นบุคคลที่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน
3. มีบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่สามารถดูแลได้ พักอาศัยอยู่ร่วมกัน
4. เยาวชนผู้เข้ารับการบำบัดต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน เพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆของมูลนิธิฯ โดยต้องสามารถพูดคุยและสื่อสารได้อย่างปกติ
๕. มูลนิธิฯต้องได้พูดคุย สื่อสารกับเยาวชนที่ต้องการเข้ารับการบำบัด รวมถึงผู้ปกครองก่อนเริ่มบำบัด
๖. ผู้ปกครองของเยาวชนที่จะเข้ารับการบำบัดนั้นต้องรับทราบด้วยเสมอ
วิธีดำเนินการ :
หากสถานศึกษาใดต้องการนำโครงการนี้ไปจัดขึ้นณ. สถาบันของตน ทางโรงเรียนหรือสถาบันนั้นจะต้องเขียนแบบโครงการขึ้นเป็นโครงการร่วมคู่ขนานไปกับมูลนิธิฯ โดยต้องจัดให้มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และส่งแบบโครงการนั้นเข้ามาที่มูลนิธิฯเพื่อการพิจารณา,
โครงการของมูลนิธิฯจะเน้นการนำตัวบำบัดไปใช้บำบัดช่วยเหลือเยาวชนที่เป็นทั้งกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ติด ไม่ใช่เพียงแค่การบอกให้ทราบแต่เพียงโทษภัยเท่านั้น แต่จะเป็นการพยายามช่วยเหลือเยาวชนให้ออกจากสารเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยวิธีการบำบัดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
(1) การบำบัดในโรงเรียน
1.1 นำตัวบำบัดไปใช้ที่ห้องพยาบาลของโรงเรียน/สถานศึกษา ซึ่งต้องมีการควบคุมจากเจ้าหน้าที่ หรืออาจารย์ประจำห้องพยาบาล เพื่อให้เด็กมีวินัยในการดื่มตัวบำบัด โดยต้องทำตามที่เจ้าหน้าที่ของทางมูลนิธิฯแนะนำอย่างเคร่งครัด
1.2 การบำบัดในโรงเรียนนั้นใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 5 -7 วันสำหรับบุหรี่หรือสุรา และ15 วันสำหรับยาเสพติดโดยนักเรียนไม่จำเป็นต้องค้างคืน (หรืออาจจัดให้มีการค้างคืนที่โรงเรียนได้ตามแต่รูปแบบที่จัด)
1.3 ในระหว่างการบำบัดนักเรียนต้องบันทึกอาการระหว่างการบำบัด เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่มูลนิธิฯทราบในการตรวจสอบการบำบัด
1.4 ในการดำเนินโครงการ ทางโรงเรียนอาจใช้วิทยากรจากทางมูลนิธิฯ หรือ ใช้วิทยากรของตน หรือนำวิทยากรของตนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการก็ได้
(2) การบำบัดโดยเข้าค่ายนอกสถานที่
2.1การเข้าค่ายนอกโรงเรียน ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 วัน โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการนั้น ต้องเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านบุหรี่หรือสุราเท่านั้น (เนื่องจากระยะเวลาการดำเนินการนั้นไม่เพียงพอสำหรับการบำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด ซึ่งหากต้องการดำเนินโครงการเกี่ยวกับยาเสพติดโดยเฉพาะก็ควรเพิ่มระยะเวลาการดำเนินโครงการเป็น 15วัน เป็นอย่างน้อย)
2.2 จัดให้มีกิจกรรมต่างๆสำหรับผู้เข้ารับการบำบัดในแต่ละวัน โดยทำเป็นตารางเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งต้องเป็นกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วม
2.3 ด้านสถานที่จัดค่ายนั้น ทางสถาบันสามารถกำหนดที่ของตนโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ด้วยตนเอง หรือให้ทางมูลนิธิฯเป็นผู้ติดต่อสถานที่ให้ก็ได้ (มูลนิธิฯใช้ค่ายทหารเป็นสถานที่จัดค่าย)
2.4 ในการดำเนินโครงการ ทางโรงเรียนอาจใช้วิทยากรจากทางมูลนิธิฯ หรือ ใช้วิทยากรของตน หรือนำวิทยากรของตนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการก็ได้
ทำไมการเข้าโครงการต่างๆจึงมีค่าใช้จ่าย??
การดำเนินโครงการต่างๆนั้นจำต้องมีค่าใช้จ่าย ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบำบัด(ค่าใช่จ่ายหลัก) หรือแม้กระทั่งค่าสถานที่หรือค่าบุคลากรต่างๆโดยส่วนหนึ่งนั้นทางมูลนิธิฯจะต้องเป็นผู้ออก และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากเงินสนับสนุน หรือผู้บริจาค, และเนื่องจากมูลนิธิฯมิได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ หรือเอกชน อีกทั้งที่ผ่านมาทางมูลนิธิฯก็มิเคยได้รับเงินบริจาคหรือเปิดรับเงินบริจาคอย่างเป็นทางการ ดังนั้นทางมูลนิธิฯจึงต้องเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆทั้งหมดมาโดยตลอด
โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบำบัดนั้นหนึ่งชุดจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่สามพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อนำเข้ามาใช้ในโครงการต่างๆที่จำเป็นจะต้องใช้ในปริมาณมาก เช่น โครงการสำหรับผู้ที่ติดสุราและสารเสพติด, โครงการเยาวชน เป็นต้น มูลนิธิฯก็จำต้องลดราคาลงเพราะเหตุที่ต้องการช่วยเหลือผู้คนตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ดังนั้นมูลนิธิฯจะต้องเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนต่างนั้นทั้งหมด โดยส่วนหนึ่งทางมูลนิธิฯก็จะได้จากการที่มีผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆในราคาเต็ม ดังนั้น,การที่ท่านได้อุดหนุนผลิตภัณฑ์ของทางมูลนิธิฯ ก็ถือเป็นการทำบุญร่วมกับมูลนิธิฯ เพราะทางมูลนิธิฯก็จะได้นำเงินส่วนนั้นไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
โครงการเด็กและเยาวชน
โครงการตามสถาบันการศึกษาที่มีปัญหาเรื่องการติดสารเสพติด โดยนำเด็กไปออกค่าย หรือหากไม่สะดวกก็สามารถทำโครงการภายในโรงเรียนได้ เช่น การจัดโครงการในห้องพยาบาล เป็นต้น
ในโครงการจะมีการนำชาบัวหิมะมาใช้ซึ่งในชุดหนึ่งจะตกอยู่ที่ประมาณสามพันห้าร้อยบาท แต่ในโครงการราคาจะตกอยู่ที่ประมาณหนึ่งพันห้าร้อยบาท ดังนั้นทางมูลนิธิจึงต้องการความช่วยเหลือในส่วนต่างของค่าใช้จ่ายนี้เป็นจำนวนมาก
ชาบัวหิมะนี้เป็นตัวบำบัดที่ได้ทำการพิสูจน์ วิจัยแล้วว่าเห็นผลจริง ดังนั้นทางมูลนิธิฯจึงเลือกนำตัวบำบัดนี้มาใช้ แต่ด้วยตัวบำบัดมีราคาค่อนข้างสูง บางครั้งผู้ที่มีรายได้น้อย หรือเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้ หรือ สถาบันการศึกษาที่ต้องการใช้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงตัวบำบัดในราคาเต็มได้ มูลนิธิฯจึงจำต้องอุดหนุนเงินเพื่อเข้าอุดส่วนต่างในการช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ และเนื่องจากมูลนิธิฯไม่เคยได้รับเงินบริจาคอย่างเป็นทางการ หรือได้รับเงินอุดหนุนจากทางรัฐบาลหรือเอกชนใด ดังนั้นจึงมีการขาดทุนงบประมาณในส่วนนี้จำนวนมาก
ผู้ใดที่ประสงค์จะช่วยเหลือก็สามารถบริจาคเงินเข้าร่วมโครงการต่างๆได้ โดยทางมูลนิธิฯจะนำเงินดังกล่าวเข้าเป็นเงินอุดหนุนในโครงการต่างๆต่อไป ในการช่วยเหลือผู้ที่ติดบุหรี่ สุรา และสารเสพติด ที่มีรายได้น้อย ไม่เพียงพอที่จะเสียค่าใช้จ่าย หรือเยาวชน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีโอกาสในการเข้าถึงการบำบัดที่มีประสิทธิภาพต่อไป