ทำไมการเลิกบุหรี่และเลิกยาเสพติดด้วยใจจึงทำได้ยาก

หลายๆท่านโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ติดสารเสพติดมักจะพูดว่า การเลิกนั้นอยู่ที่ใจ หากคิดอยากจะเลิกเลิกเมื่อไหร่ก็เลิกได้ แต่ที่สุดแล้วก็เลิกไม่สำเร็จ โดยอาจจะบอกว่า "ที่จริงก็ยังไม่อยากเลิก" หรือ "เลิกได้แล้วสามวัน" เป็นต้น อันที่จริงคนที่สามารถเลิกได้ด้วยตนเองเลิกด้วยใจหรือเลิกด้วยการหักดิบนั้นมีอยู่จริงแต่มีจำนวนไม่มากนัก และหากสังเกตต่อไปจะพบว่าผู้ที่เลิกได้นั้นมักอยู่ในช่วงอายุ 40-60ปี และเลิกสำเร็จแล้วตั้งแต่วัยรุ่นโดยไม่ได้แตะต้องบุหรี่ยุคใหม่อีกเลย ซึ่งนั่นหมายถึง บุหรี่ในสมัยก่อนนั้นยังไม่ปรุงแต่งเท่าสมัยนี้ หากมีการสูบต่อเนื่องมาเรื่อยๆถึงปัจจุบัน หรือผู้สูบ เสพ หน้าใหม่ ก็จะพบว่าเปอร์เซ็นต์ที่สามารถหักดิบด้วยตัวเองได้นั้นน้อยมาก มีผลการสำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยที่สูบบุหรี่(หกล้านคนจากสิบสองล้านคน) พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่แต่เลิกไม่ได้ นั่นก็เพราะบุหรี่ที่มีฤทธิ์ของการเสพติดที่มากขึ้นทำให้เลิกได้ยากขึ้นนั่นเอง หรือแม้กระทั่งยาเสพติดอื่นๆเองก็มีการเพิ่มฤทธิ์ให้เสพติดและมีโทษร้ายแรงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ยาบ้าที่ในสมัยก่อนใช้ชื่อว่ายาม้า หรือกัญชา ที่ในปัจจุบันนี้ได้เพิ่มสารเสพติดอื่นผสมมาด้วยในกัญชานั่นเอง มีบันทึกจากบริษัทบุหรี่ชิ้นหนึ่งบันทึกไว้ว่า “เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าบุหรี่เป็นสิ่งเสพติด…

Continue Readingทำไมการเลิกบุหรี่และเลิกยาเสพติดด้วยใจจึงทำได้ยาก

ค่ายบำบัดยาเสพติด

ค่ายบำบัดยาเสพติดครั้งที่ 1/2562       ระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ 15 วัน       รับผู้เข้ารับบำบัดทั้งหมดจำนวนประมาณ 5-10 คน       เริ่มหากมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการตามจำนวนที่กำหนด ค่ายบำบัดเพื่อเลิกยาเสพติด โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีผู้สอบถามกันเข้ามาเป็นจำนวนมากว่า หากต้องการมาบำบัดที่มูลนิธิฯสามารถทำได้หรือไม่ ควรทำอย่างไร เพราะต้องการให้มีคนดูแลผู้ที่ติดในระหว่างการเลิก มูลนิธิฯจึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยผู้ที่สูบบุหรี่ สารเสพติด ให้สามารถเลิกได้อย่างได้ผลจริง และยังเป็นการมาผ่อนคลายด้วยในตัว              …

Continue Readingค่ายบำบัดยาเสพติด

การเสพยาแก้ไอกระแสเก่าที่กลับมาใหม่

การเสพยาแก้ไอ(Dextromethorphan)” กระแสเก่าที่กลับมาใหม่      Dextromethorphan หรือ DXM ใช้แก้ไอในปริมาณที่แพทย์สั่งจะมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อย ปกติยาชนิดนี้ ใช้เป็นยาแก้ไอประเภทกดศูนย์การไอ หรือเราเรียกว่า cough suppressant ซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้ในเด็กเล็ก เพรา ะจะทำให้เสมหะไม่ระบายออกหากกดอาการไอ แต่สามารถใช้ได้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ (ในปริมาณที่รักษาได้โดยปลอดภัย)      แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิดมักใช้ในขนาดสูง โดยจะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข(euphoria) ไปจนถึง อาการประสาทหลอน จะมีอาการเมา เคลิบเคลิ้ม สุขสบาย คล้ายกับผลของยา phencyclidine…

Continue Readingการเสพยาแก้ไอกระแสเก่าที่กลับมาใหม่

ตอบข้อสงสัยเรื่องการสูบบุหรี่

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ สูบบุหรี่วันละไม่กี่มวนคงไม่เป็นอะไร : เพียงแค่สูบวันละ 1-4 มวนก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 2.79 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2.74 เท่า สูบบุหรี่มาเป็นเวลานานแล้ว หากเลิกสูบจะเป็นอันตราย : แม้จะสูบบุหรี่มานานแค่ไหนแล้วก็ตาม การเลิกสูบก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นและไม่มีอันตรายใดๆ สูบบุหรี่มาเป็นเวลานานแล้ว การเลิกสูบทันทีหรือที่เรียกว่าหักดิบ ร่างกายจะช็อคตาย : การหักดิบจะทำให้เกิดอาการอยากบุหรี่(อาการลงแดงหรืออาการเสี้ยนยา) แต่จะไม่มีอันตรายต่อร่างกาย อาการลงแดงจะค่อยๆหายไปในแต่ละวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและระวังเรื่องอาหาร คิดว่าจะช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ลงได้ : เป็นคนละเรื่องกัน การสูบบุหรี่เป็นการสะสมสารพิษในร่างกาย…

Continue Readingตอบข้อสงสัยเรื่องการสูบบุหรี่

ทำไมเลิกสารเสพติดด้วยใจจึงทำได้ยาก

หลายๆท่านโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ติดสารเสพติดมักจะพูดว่า การเลิกนั้นอยู่ที่ใจ หากคิดอยากจะเลิกเลิกเมื่อไหร่ก็เลิกได้ แต่ที่สุดแล้วก็เลิกไม่สำเร็จ โดยอาจจะบอกว่า "ที่จริงก็ยังไม่อยากเลิก" หรือ "เลิกได้แล้วสามวัน" เป็นต้น          อันที่จริงคนที่สามารถเลิกได้ด้วยตนเองด้วยการหักดิบนั้นมีอยู่จริง แต่มีจำนวนไม่มากนัก และหากสังเกตต่อไปจะพบว่าผู้ที่เลิกได้นั้นมักอยู่ในช่วงอายุ 40-60ปี และเลิกสำเร็จแล้วตั้งแต่วัยรุ่นโดยไม่ได้แตะต้องบุหรี่ยุคใหม่อีกเลย ซึ่งนั่นหมายถึง บุหรี่ในสมัยก่อนนั้นยังไม่ปรุงแต่งเท่าสมัยนี้ หากมีการสูบต่อเนื่องมาเรื่อยๆถึงปัจจุบัน หรือผู้สูบ เสพ หน้าใหม่ ก็จะพบว่าเปอร์เซ็นต์ที่สามารถหักดิบด้วยตัวเองได้นั้นน้อยมาก มีผลการสำรวจในปี 2552 พบว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยที่สูบบุหรี่(หกล้านคนจากสิบสองล้านคน) พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่แต่เลิกไม่ได้ นั่นก็เพราะบุหรี่ที่มีฤทธิ์ของการเสพติดที่มากขึ้นทำให้เลิกได้ยากขึ้นนั่นเอง…

Continue Readingทำไมเลิกสารเสพติดด้วยใจจึงทำได้ยาก

สัมภาษณ์ม้าอรนภาเลิกบุหรี่ด้วยชาบัวหิมะ

คุณม้าอรนภาให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เรื่องการเลิกบุหรี่ด้วยชาบัวหิมะ ด้วยพลังความตั้งใจ เนื่องจากมีปัญหาของอาการแก่ก่อนวัย ผิวเหี่ยว แห้งกร้าน ซึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่ รวมถึงอาการไอแบบมีเสมหะ

Continue Readingสัมภาษณ์ม้าอรนภาเลิกบุหรี่ด้วยชาบัวหิมะ

ยาเสพติดให้โทษคืออะไร

ยาเสพติดให้โทษ คืออะไร?พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมยาเสพติดให้โทษของประเทศไทย ได้ให้นิยามของยาเสพติดให้โทษไว้ว่า หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีใดตาม เช่น รับประทาน สูบ ดมหรือฉีดแล้ว จะก่อให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. มีความต้องการเสพสารนั้นอย่างรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ 2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณการเสพสารนั้นมากขึ้นเป็นลำดับ 3. เมื่อหยุดเสพสารนั้นจะเกิดอาการถอนยา 4. สุขภาพของผู้เสพสารนั้นเป็นเวลานานจะทรุดโทรมลง การควบคุมยาเสพติดให้โทษ โดยทั่วไปยึดถือหลักในการพิจารณาว่า ตัวยานั้นทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรในระดับรุนแรงอย่างไร และประโยชน์ของยาในการรักษาโรคมากน้อยเพียงใด ซึ่งจากหลักการดังกล่าว…

Continue Readingยาเสพติดให้โทษคืออะไร

บทสัมภาษณ์ประธานมูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด

ค่ายเยาวชน "โครงการลด ละ เลิก บุหรี่ และพัฒนาบุคลิกภาพ"     ปณิธาน   "ความภูมิใจสูงสุดของดิฉันในวันนี้ คือโอกาสที่ได้ทำให้คนไทย ประเทศชาติ และสังคม ปลอดสารเสพติด ได้คืนคนดีกลับสู่สังคม เราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งด้วยปณิธานอันแน่วแน่ที่จะนำมาซึ่งความมั่นคงของประเทศ เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณค่าต่อสังคมด้วยจิตที่มีความกตัญญูต่อแผ่นดินที่เกิดตลอดไป"        ด้วยเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของประธานมูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด ได้ขอให้บริษัทชาบัวหิมะช่วยเหลือสังคมในประเทศชาติ คนไทยจึงมีโอกาสได้ใช้ชาบัวหิมะ ในการบำบัดเลิกบุหรี่และสารเสพติดขอให้ท่านสบายใจเพราะไม่มีความเสี่ยงในการเลิก เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียงในการบำบัด ทางมูลนิธิฯได้ทำการวิเคราะห์และวิจัยโดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์และเภสัชกรซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เราภูมิใจที่เรามีตัวบำบัดตามธรรมชาติที่ทำการเพาะปลูกในประเทศได้และมีความหวังว่าคนไทยจะมีปอดสะอาดปราศจากควันบุหรี่และสารเสพติด        เราจะยืนหยัดหยุดยั้งต่อต้านสารเสพติดที่กำลังทำลายประเทศชาติและสังคม ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนที่รักแผ่นดินสมัครเป็นสมาชิกกับมูลนิธิฯในการรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด…

Continue Readingบทสัมภาษณ์ประธานมูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด

อาการของผู้เสพยาแต่ละประเภท

ผู้เสพติดยาเสพติดอาจมีลักษณะและความประพฤติที่อาจสังเกตเห็นได้ แตกต่างกันไปได้ตามประเภทของยาเสพติดที่เสพ ดังต่อไปนี้       1.การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาบ้า การเสพยาบ้าผู้เสพอาจจะไม่เกิดอาการเสพติดในสองครั้งแรกที่เสพเหมือนการเสพเฮโรอีนแต่เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพราะไม่สามารถนอนหลับได้และยายังไปทำลายระบบประสาทอีกด้วย การสังเกตอาการของผู้ติดยาบ้าสามารถสังเกตได้ดังนี้     (1) อาการทางร่างกาย     1.1 ผู้ป่วยมักจะผอมลงน้ำหนักลดโดยเฉพาะรายที่ใช้มากและใช้มาเป็นเวลานาน     1.2 การดูแลความสะอาดร่างกายมักจะลดลง     1.3 มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นเช่น แขนขา ใบหน้า บางรายชอบกัดกราม บางรายไม่อยู่นิ่งเดินไปเดินมา     (2) ด้านจิตใจ และอารมณ์     2.1 เวลาไม่ได้เสพยามักจะมีอาการซึมเศร้าหรือหงุดหงิดได้ง่าย     2.2 นิสัยเปลี่ยนไป เช่น จากเมื่อก่อนที่เป็นคนเรียบร้อย เชื่อฟังกลับกลายเป็นคนก้าวร้าว ดุดัน…

Continue Readingอาการของผู้เสพยาแต่ละประเภท

การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

วิธีสังเกตผู้ติดยาเสพติด ยาเสพติดทั้งหลายเมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกาย, สมอง และจิตใจของผู้เสพ ทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยหากท่านสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ – การใช้เงินสิ้นเปลือง จะใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆภายในไม่เกิน 1 ปี ซึ่งผู้ปกครองควรมีการสังเกตอย่างสม่ำเสมอและสามารถตรวจสอบ หรือควบคุมการใช้เงินของเด็กได้ – อุปการณ์การเสพ อาจพบบุหรี่ที่มีรอยยับและมักจะเก็บไว้ต่างหาก หรือพบกระดาษฟลอยด์ ไฟแช็ค และหลอด – นิสัยโกหก เด็กจะเริ่มโกหกจากเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น เสพยาในห้องน้ำนานแต่โกหกว่าท้องผูก เป็นต้น จนกระทั่งเรื่องที่โกหกจะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น โกหกว่าเครื่องประดับหาย หรือโรงเรียนบังคับให้ซื้อเครื่องมือที่ราคาแพงๆ…

Continue Readingการสังเกตผู้ติดยาเสพติด